PBX ตู้สาขาโทรศัพท์ 3 ประเภทที่คุณควรรู้ สำหรับองค์กรธุรกิจยุคใหม่

PBX ตู้สาขาโทรศัพท์ 3 ประเภทที่คุณควรรู้ Yalecom pbx PBX ตู้สาขาโทรศัพท์ 3 ประเภทที่คุณควรรู้ สำหรับองค์กรธุรกิจยุคใหม่ PBX                                               3                                                        Yalecom 768x402

PBX ย่อมาจาก Private Branch Exchange หรือตู้สาขาโทรศัพท์ บางครั้งอาจเรียกว่าตู้โทรศัพท์สาขา เป็นอุปกรณ์สำคัญของทุกสำนักงาน ที่ต้องมีเบอร์ต่อภายใน 

เนื่องจาก PBX เป็นระบบชุมสายโทรศัพท์ย่อย ที่ทำให้สำนักงานนั้นๆ มีเบอร์ต่อหรือเบอร์ภายในเป็นของตนเองเพื่อใช้สำหรับติดต่อสื่อสารกันเอง รวมทั้งใช้เชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์ภายนอกที่ต้องการโทรติดต่อเข้ามายังแผนกต่างๆ ภายในสำนักงาน

ปัจจุบัน PBX ตู้สาขาโทรศัพท์มีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ ตู้สาขาโทรศัพท์แบบอะนาล็อก, ตู้สาขาโทรศัพท์แบบดิจิทัล และ Cloud PBX หรือตู้สาขาโทรศัพท์บน Cloud ทั้ง 3 ประเภทนี้ มีความแตกต่างกัน ดังนี้

1. PBX ตู้สาขาโทรศัพท์แบบอะนาล็อก หรือ Switching PBX หรือ PABX เป็นตู้สาขาโทรศัพท์แบบดั้งเดิม ที่มีจำนวนการใช้งานมากที่สุดในยุคปัจจุบันซึ่งต่อเนื่องมาจากการใช้งานในอดีต ตู้สาขาโทรศัพท์แบบอะนาล็อกนี้ จะมีลักษณะเป็นกล่องหรือตู้ ภายในบรรจุสายสัญญาณโทรศัพท์เอาไว้ตามจำนวนเบอร์ต่อภายในสำนักงาน หากเกิดกรณีไฟฟ้าขัดข้อง ไฟดับ ต้องใช้เวลาในการเช็คตรวจสายโทรศัพท์แต่ละสายว่ามีปัญหาเกิดมาจากสายโทรศัพท์เส้นใด ทำให้ใช้เวลานานในการค้นหาและซ่อมแซม รวมทั้งตู้สาขาโทรศัพท์ลักษณะนี้ จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาตู้สาขาอย่างสม่ำเสมอ อีกทั้ง มีข้อจำกัดในเรื่องของการติดตั้งตู้สาขาโทรศัพท์ เมื่อย้ายออฟฟิศ ต้องทำการติดตั้งใหม่ และเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มในการเดินสายสัญญาณโทรศัพท์ เพราะฉะนั้น จำนวนของผู้ใช้งานตู้สาขาโทรศัพท์แบบอะนาล็อก จึงมีแนวโน้มที่จะลดลง และผู้ประกอบการยุคใหม่ เริ่มหันมาใช้ตู้สาขาโทรศัพท์แบบใหม่ ที่ช่วยประหยัดต้นทุนของออฟฟิศได้มากกว่า

2. PBX ตู้สาขาโทรศัพท์แบบดิจิทัล หรือตู้โทรศัพท์สาขาแบบ IP-PBX เป็นการพัฒนาตู้สาขาโทรศัพท์ที่ใช้งานง่ายขึ้นกว่าตู้สาขาโทรศัพท์อะนาล็อกเนื่องจากเป็นตู้สาขาที่มีระบบการใช้งานแบบดิจิทัล เพราะฉะนั้น การใช้งานร่วมกับโทรศัพท์ จึงต้องเปลี่ยนไปสู่โทรศัพท์แบบดิจิทัลหรือ IP Phone (โทรศัพท์สำนักงานที่รองรับระบบการทำงานในรูปแบบดิจิทัล) โดยใช้สายสัญญาณแบบ IP (Internet Protocal) หรือสายแลนเพื่อทำการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทดแทนการใช้สายโทรศัพท์แบบเก่า

อย่างไรก็ตาม IP-PBX คือการเปลี่ยนจากระบบตู้สาขาโทรศัพท์แบบอะนาล็อกมาเป็นแบบ IP ซึ่งยังจำเป็นต้องมีการติดตั้งกล่องสัญญาณ IP-PBX เพื่อทำการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็นในการสื่อสาร เช่น เชื่อมต่อกับสายแลน เพื่อจ่ายสัญญาณโทรศัพท์ไปยังอุปกรณ์สื่อสารของสำนักงาน ทั้ง IP Phone, Soft Phone, Fax ฯลฯ นอกจากนี้ ตู้สาขาโทรศัพท์แบบดิจิทัล ยังสามารถเชื่อมต่อกับโทรศัพท์แบบอะนาล็อกได้ เพียงแต่ต้องมีตัวแปลงสัญญาณจากดิจิทัลเป็นอะนาล็อก

3. PBX ตู้สาขาโทรศัพท์บน Cloud คือตู้โทรศัพท์สาขาบน Cloud หรือบริการระบบโทรศัพท์สำนักงาน ที่ทำงานผ่านอินเตอร์เน็ต โดยใช้ตู้สาขาโทรศัพท์ในรูปแบบของ Cloud PBX กล่าวคือ เป็นการบริหารจัดการระบบโทรศัพท์จากผู้ให้บริการโดยตรง ข้อดีคือไม่ต้องติดตั้งตู้สาขาโทรศัพท์ ไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ใดๆ ไม่ต้องติดตั้งสายโทรศัพท์ใหม่ เพราะเป็นการเชื่อมต่อผ่านระบบ Cloud เมื่อไม่มีตู้สาขา จึงไม่ต้องเสียเงินค่าบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมตู้ รวมทั้งเมื่อเกิดปัญหาการใช้งาน สามารถแจ้งผู้ให้บริการทำการรีโมทเข้าไปแก้ไขให้ได้ทันที นอกจากนี้ ยังสามารถกำหนดเลขหมายภายในของแต่ละแผนก รวมไปถึงกำหนดคู่สายในการโทรเข้า-โทรออกได้อย่างยืดหยุ่น ตอบโจทย์บริษัทยุคใหม่ ที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจหรือบริษัทที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งระบบโทรศัพท์สำนักงาน (อ่านเพิ่มเติม เทคโนโลยีบน Cloud กับการเชื่อมต่อธุรกิจ)

YaleCom ผู้ให้บริการระบบโทรศัพท์บน Cloud ไม่ต้องติดตั้งตู้สาขา ไม่ต้องเดินสายโทรศัพท์ใหม่ ไม่ต้องติดตั้งอุปกรณ์ใดๆ พร้อมใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ตได้ทันที รองรับการใช้งานได้ทั้ง IP Phone, แอปบนมือถือ และ Window PC